5
My Slideshow: Me’s trip from กรุงเทพมหานคร (กทม.), ไทย to was created by TripAdvisor. See another ไทย slideshow. Create a free slideshow with music from your travel photos.
วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554
อินเตอร์เน็ต (Internet) คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อ TCP/IP ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสาร (เช่น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail การส่งผ่านเอกสารซึ่งอยู่ในรูปแบบแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์) และการใช้ทรัพยากรร่วมกัน อันได้แก่ ทรัพยากรสารสนเทศ (Information) ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ (Hardware) ทรัพยากรซอฟแวร์ (Software) และ ทรัพยากรบุคคล (Peopleware) เป็นต้น เครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่มีใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มคนใดกลุ่มหนึ่งเป็นเจ้าของ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นของทุกคนที่เข้ามาเชื่อมต่อการจัดการเครือข่ายเป็นความร่วมมือซึ่งกันและกัน โดยต่างคนต่างดูแลจัดการเครือข่ายของตนเอง และมีองค์กรกลาง ชื่อ ISOC (Internet Society) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อความร่วมมือและการประสานงานของเครือข่ายและเทคโนโลยีการเชื่อมต่อตลอดจนการประยุกต์ใช้งานของเครือข่ายทั่วโลก องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2535
ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
อภิมหาเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายของเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลก ในแต่ละเครือข่ายก็จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือ โฮสต์ (Host) เชื่อมต่ออยู่เป็นจำนวนมาก ระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะให้บริการต่างๆ แล้วแต่ลักษณะและจุดประสงค์ที่เจ้าของเครือข่ายนั้นหรือเจ้าของระบบคอมพิวเตอร์นั้นตั้งขึ้น ในอดีตมักมีเฉพาะบริการเรื่องข้อมูลข่าวสารและโปรแกรมที่ใช้ในแวดวงการศึกษาวิจัยเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันก็ได้ขยายเข้าสู่เรื่องของการค้าและธุรกิจแทบจะทุกด้าน บริการต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
1.บริการด้านการสื่อสาร
2.บริการด้านข้อมูลต่างๆ
ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
คำว่า e ย่อมาจาก electronic ซึ่งมีจุดมุ่งหมายหลักคือ ให้มีการจัดเก็บสารสนเทศหรือเอกสารต่าง ๆ จากเดิมที่อยู่ในรูปของกระดาษมาให้อยู่ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งก็คือแฟ้มคอมพิวเตอร์นั่นเอง โดยในการดำเนินการนี้ต้องอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer technology) เป็นหลัก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีส่วนที่ 1 ของเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดเก็บสารสนเทศในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีข้อดีหลายประการ เช่น สามารถที่จะปรับปรุงแก้ไขได้ง่ายทำให้สารสนเทศเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ มีต้นทุนการผลิตต่ำ แต่มีความน่าสนใจมากกว่า และที่สำคัญ สามารถจะเผยแพร่หรือนำสารสนเทศจากผู้ผลิตไปยังผู้ใช้ได้ในเวลาอันรวดเร็วโดยผ่านเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์เป็นตัวส่งและตัวรับ เรียกกันว่าเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม (telecommunication technology) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีส่วนที่ 2 ของ เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นคำว่า Information Technology ในความหมายที่แท้จริงนั้นได้หมายรวมถึงสองส่วนของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศแล้วคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการผลิตสารสนเทศ และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมซึ่งสามารถจะสื่อสารสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลาย เช่น ข้อความ (text) ภาพนิ่ง (picture or graphic) ภาพเคลื่อนไหว (animation) เสียง (voice) และวีดีทัศน์ (video) เป็นต้น ไปยังผู้ใช้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว
ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ความบันเทิงไว้จำนวนมหาศาล เปรียบเสมือนกับห้องสมุดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก อินเตอร์เน็ต มีกำเนิดจากเหตุผลทางด้านการทหารของประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากที่กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนโครงการเครือข่ายที่มีชื่อว่า "อาร์พาเน็ต" อันเกิดจากความร่วมมือ กันระหว่างมหาวิทยาลัยชื่อดัง 4 แห่ง เครือข่ายดังกล่าวก็เป็นที่แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ซึ่งมีประโยชน์มากทั้งทางด้านการศึกษาและการทหาร ภายหลังองค์กรและบริษัทต่างๆ ก็เล็งเห็นประโยชน์ ในการใช้เครือข่ายให้เป็นประโยชน์ จึงได้ขอดำเนินการเชื่อมเครือข่ายของตนเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันทำให้ขนาดของเครือข่ายขยายขอบเขตจนครอบคลุมทั่วโลกดังที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบันและได้เรียกชื่อ เครือข่ายดังกล่าวใหม่ว่า "เครือข่ายอินเตอร์เน็ต"
ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ระบบ VoIP และ IP Telephony ถือกำเนิดขึ้นภายหลังจากเครือข่าย TCP/IP ได้กำเนิดขึ้น โดย Concept แล้วเป็นระบบที่มีการผนวกรวมของเครือข่ายเสียงและข้อมูลเข้าไว้ในเครือข่าย Internet Protocal เหมือนกัน แต่ IP Telephony จะใช้สื่อความหมายที่กว้างกว่า โดยอาจรวม VoIP เป็นส่วนหนึ่งใน IP Telephony ด้วย ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำ VoIP มาใช้ในองค์กรธุรกิจอย่างกว้างขวางโดยจุดประสงค์หลักคือเพื่อการลดต้นทุนในการติดต่อสื่อสารภายในบริษัทระหว่างสาขาและจนถึงระหว่างประเทศ เทคโนโลยี VoIP ยังมีคุณสมบัติใหม่ๆ ที่น่าใช้งานอีกหลายอย่าง อาทิ advanced call routing, computer integration, unified messaging, integrated information services, long-distance toll bypass และ Voice and Video Conference และ Web Conference
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)